บางคนบอกว่า ชาวปาเลสไตน์ถูกบังคับให้ออกจากแผ่นดินของเขาและถูกแย่งสิทธิโดยชอบ
อีกคนยืนยันว่าคนอิสราเอลเป็นผู้มีสิทธิตามกม.กับประชาชาติของอิสราเอลรวมทั้งแผ่นดินที่ยึดไว้ตอนทำสงคราม
รัฐสภาสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน ใช้คำว่า “ยึดครอง” เพื่อหมายถึงการปรากฏตัวของทหารอิสราเอลในเมืองปาเลสไตน์ เป็นนัยว่า คนอิสราเอลได้รุกรานดินแดนของผู้มีอำนาจปกครอง ดินแดนนี้เป็นของใคร จริงๆ
มาหาคำตอบกัน…
คำว่า”ปาเลสไตน์” เป็นคำที่มีความสำคัญ ใช้เพื่อหมายถึง ส่วนหนึ่งของแผ่นดินในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตรงปลายสุดด้านตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนเดียวกันนั้น ประกอบด้วยรัฐอิสราเอลปัจจุบัน ที่เป็นชาติในปี 1948 คนอิสราเอลได้พัฒนาทะเลทรายที่รกร้างว่างเปล่า จนเป็นประชาชาติที่อุดมสมบูรณ์ในดินแดนว่างเปล่าเป็นทะเลทรายนั้น คนอิสราเอลเป็นผู้ปกป้องแผ่นดินมาตุภูมิของพวกเขาอย่างชัดเจน
แต่นั่น เป็นแผ่นดินมาตุภูมิของคนอิสราเอล จริงหรือ? หรือของชาวปาเลสไตน์?
คำว่า “ชาวปาเลสไตน์” โดยทั่วไป ใช้เรียกชื่อลูกหลานของคนอาหรับจำนวนประมาณ 780,000 คน(เจ็ดแสนแปดหมื่น) ที่อพยพออกไป ตอนเกิดสงครามระหว่างห้าชาติอาหรับและรัฐอิสราเอลที่อิสราเอลประกาศตั้งรัฐใหม่ในปี 1948 พอเริ่มสงคราม คนอาหรับจำนวนหนึ่งละทิ้งถิ่นฐานเนื่องจากความกลัว ในขณะที่คนอาหรับอื่นที่เหลืออยู่ เชื่อว่าอพยพออกไปก่อน ไปไม่นานค่อยกลับมา แต่คนอาหรับไม่ได้คิดว่า อิสราเอลจะชนะสงคราม คิดว่าอาหรับจะชนะอย่างน้อยตรงจำนวนคนที่มากกว่า นับแต่เวลานั้น คนที่ย้ายออกไปและลูกหลานอาหรับผู้อพยพ ไปอาศัยในค่ายอพยพชั่วคราว ปราศจากแผ่นดิน ที่เรียกว่า แผ่นดินของตนเอง
ยังมีการโต้แย้งความเป็นเจ้าของ(แผ่นดิน)ปาเลสไตน์ อย่างขมขื่นจนถึงทุกวันนี้ ไม่มีฝ่ายใดเต็มใจที่จะยอมรับ การประกาศของอีกฝ่ายหนึ่งถึงสิทธิการควบคุมดินแดนของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว การโต้แย้งสิทธิมีความซับซ้อน มีหลายวิถีทางในการแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่โต้แย้ง
คนอิสราเอลมาครอบครองแผ่นดินอย่างไร?
คนอิสราเอลเชื่อว่า คนอิสราเอลมีสิทธิตามกม.ด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่แต่เพียงคนอิสราเอลประสบความสำเร็จในการปกป้องตนเอง ต่อสู้กับ(อาหรับ)ที่มีจำนวนที่เหนือกว่าตอนปลายทศวรรษปี 1940 และในสงคราม(หกวัน)ในเวลาต่อมา หรือเป็นแผ่นดินของอิสราเอล เพราะคนอิสราเอลสามารถป้องกันแผ่นดินไว้ได้ คนอิสราเอลมาอยู่ในแผ่นดินของพวกเขาเป็นสถานที่แรก ได้อย่างไร?
ให้เราย้อนเวลากลับไปสัก 25 ปี ก่อนการก่อตั้งชาติอิสราเอล(14พค.1947) อังกฤษครอบครองแผ่นดินปาเลสไตน์ ด้วยเหตุผลทางการเมือง อังกฤษสัญญาจะยกแผ่นดินมาตุภูมิปาเลสไตน์ให้กับคนอาหรับที่อยู่ และยกแผ่นดินให้ผู้อพยพชาวยิว ด้วยเหตุผลว่า
ให้อาหรับช่วยอังกฤษ (British) โค่นออตโตมาน อังกฤษสัญญาว่าจะยกดินแดนให้อาหรับ เพื่อตอบแทนความเป็นมิตรแท้ของอาหรับ ดังนั้น อาหรับปาเลสไตน์ จึงมีสิทธิ์ โดยชอบที่จะอ้างสิทธิในแผ่นดิน ที่มีคนอาหรับอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ความจริงนั้น ทำให้แผ่นดินนั้น เป็นของชาวอาหรับหรือไม่?
ในเวลาเดียวกันเดียวกันกับที่อังกฤษ(สัญญาว่าจะ)มอบแผ่นดินให้กับเพื่อนอาหรับของอังกฤษ อังกฤษยังสนใจคะแนนในทางการเมืองที่จะได้รับจากคนยิวที่อยู่ในอังกฤษ ดังนั้นอังกฤษก็สัญญาจะยกแผ่นดินให้ยิวด้วย!
ดังนั้น คนทั้งสองสามารถอ้างสิทธิ ว่า ดินแดนนั้นมีการมอบให้กับพวกเขา!
อังกฤษ ไม่เข้าใจความต้องการที่อยู่ในใจของคนทั้งสองกลุ่ม อังกฤษมิได้คาดคิดไว้ล่วงหน้าว่า ปาเลสไตน์อาหรับและคนยิวต้องการแผ่นดินผืนเดียวกัน
เมื่อพันธมิตรอาหรับของอังกฤษ ปลดปล่อยเยรูซาเล็มจากผู้ปกครองออตโตมาน ในปี 1917 ปาเลสไตน์อาหรับ มีจำนวนมากกว่าคนยิวที่อยู่ในปาเลสไตน์มาก ทั้งๆ ที่ ตั้งแต่ทศวรรษปี 1880 คนยิวหลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่นี้จำนวนมาก เนื่องจากมีการต่อต้านคนเซมิติคในประเทศต่างๆ เทโอดอร์ แฮร์ทเซิล ได้ก่อตั้ง องค์การไซออนิสต์โลก ในปี 1897 สนับสนุนให้คนยิวที่อาศัยยุโรปอพยพไปยังปาเลสไตน์เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกข่มเหง
การอพยพเพิ่มขึ้นอย่างมากในทศวรรษปี 1930 เมื่อลักธินาซีขึ้นสู่อำนาจสูงสุด โลกเริ่มเอนเอียงไปสงสารคนยิว เมื่อเป็นดังนั้นอังกฤษเห็นคนยิวหลั่งไหลเข้าไปในปาเลสไตน์จำนวนมาก อังกฤษพยายามจำกัดการอพยพของคนยิวไปยังแผ่นดินพันธมิตรอาหรับของอังกฤษ ตอนนี้เข้าสู่ตอนสำคัญที่อังกฤษรู้ว่า ตนเองสัญญาว่าจะยกดินแดนปาเลสไตน์ให้ทั้งอาหรับและคนยิว
การกระทำก่อการร้ายในปาเลสไตน์ เป็นข่าวพาดหัวในหนังสือเกือบทุกวัน ระเบิดฆ่าตัวตายเป็นการระเบิดตนเอง ในที่สาธารณะในประเทศอิสราเอล สังหารและทำให้คนบริสุทธิ์บาดเจ็บ
อย่างไรก็ตามลักธิก่อการร้าย ถูกนำมาใช้ทั้งสองชาติในปีที่เกิดความไม่สงบ, สงครามอาหรับ-ยิว เกิดขึ้นช่วงปี 1947-1948 ยุติลงด้วยการที่อิสราเอลควบคุมดินแดนปาเลสไตน์ ได้เป็นส่วนใหญ่
ผู้ก่อการร้ายยิวคนหนึ่งเป็นคนวางแผนและดำเนินการโจมตีกองทหารอังกฤษ ที่ตั้งอยู่ในปาเลสไตน์ ต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล คือ นายเมนาเฮม เบกิน มีชื่อเสียงในการกล่าวว่า แผ่นดินปาเลสไตน์คือแผ่นดิน“ยูเดีย” และ”สะมาเรีย”(ชื่อนี้ปรากฏในไบเบิลของคริสเตียน) ซึ่งเป็นชื่อแผ่นดินที่ครอบครองโดยคนอิสราเอลโบราณ
เมื่ออังกฤษเห็นว่า ไม่สามารถเจรจาให้สามารถยอมรับการตั้งถิ่นฐานทั้งสองฝ่าย อังกฤษก็ส่งเรื่องให้ยูเอ็นแก้ปัญหาประเด็นที่ซับซ้อนนี้
ปี 1947 ยูเอ็นเสนอวิธีแก้ปัญหา ที่ดูว่าสมเหตุสมผล โดยการแบ่งแผ่นดินให้กับคนสองฝ่าย นักกม.ของเยรูซาเล็ม,และโฆษกของอาหรับปาเลสไตน์ ผู้อพยพชาวยิวในเวลานั้นยอมรับแนวคิด คนยิวในเวลานั้นอยู่ภายใต้การนำของ นายเดวิด เบน คูเรียน ประกาศตั้งรัฐอิสราเอล วันที่ 14 พค.1948
ทั้งๆ ที่คนอาหรับปาเลสไตน์มีจำนวนมากกว่า คนอาหรับปาเลสไตน์อพยพออกจากแผ่นดินหวังพึ่งพี่น้องชาวอาหรับ เข้าบดขยี้ชาติอิสราเอลที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่กี่วัน คิดว่าเมื่อชาติอาหรับควบคุมแผ่นดินปาเลสไตน์ เรียบร้อยแล้ว จะได้อพยพกลับ
แต่เหตุการณ์ ไม่ได้เป็นไปตามคาด
คำกล่าวอ้างว่า เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานก่อน ไม่สามารถนำมาอ้างในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ ถ้าเราพยายาม ตอบคำถามของคนปาเลสไตน์ คำถามที่ถามว่า
“ใครมาตั้งถิ่นฐานก่อน”
เราจะพบความยุ่งยากมาก ถ้าย้อนกลับไปปลายศต.ที่19 และต้นศต.ที่20 คนอาหรับอยู่ในปาเลสไตน์ เป็นอันดับแรก ดังนั้น แผ่นดินของเป็นของคนอาหรับโดยชอบหรือไม่?
ไม่,อย่างนั้น เร็วเกินไป
ให้ย้อนไปอีกสักหลายพันปี นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่าประชากรกลุ่มใหญ่ลำดับแรกสุด ที่อยู่ในแผ่นดิน คือชาวคานาอัน
ถ้ามีกฎหมายสักฉบับ บอกว่า “ใครมีประชากรครอบครอง แผ่นดิน จำนวน 9 ใน 10 ส่วน” ถือว่าแผ่นดิน เป็นของพวกนั้นและลูกหลานของคนนั้น ชาวคานาอัน จะได้ครอบครองแผ่นดิน
แต่คนฟิลิสติน ที่มีอำนาจทางทหารเหนือกว่า่ได้อพยพเข้าไปในแผ่นดินคานาอัน และชื่อนี้ ที่คิดว่าพัฒนา มาเป็น ”ปาเลสไตน์” ดังนั้น ลูกหลานของคนฟิลิสติน จึงมีสิทธิในแผ่นดินโดยชอบด้วยกฎหมาย
ยังไม่ง่ายขนาดนั้น อีกเช่นกัน
ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้าไปในแผ่นดินคานาอันคนกลุ่มนี้ เป็นลูกหลานของชายที่มีนามว่า “อีเบอร์” ชื่อนี้แปลว่าอีกด้านหนึ่ง” คนกลุ่มนี้เรียกว่า “คนฮีบรู” มาจาก”อีกด้านหนึ่ง” ของยูเฟรตีส เข้าสู่แผ่นดินคานาอัน หัวหน้าครอบครัวคนกลุ่มนี้ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คืออับราฮัม ใครอยากทราบรายละเอียดการเดินทางของอับราฮัม แนะนำอ่านไบเบิล ภาคปฐมกาล ตั้งแต่บทที่ 12
พออับราฮัมและครอบครัว เดินทางมาถึงดินแดน ก็เกิดเรื่องไม่น่าเชื่อต่างๆ มากมาย พระเจ้าปรากฏกับอับราม(ชื่อเดิม ภายหลังเปลี่ยนเป็น อับราฮัม) พระเจ้าสัญญาจะมอบแผ่นดินให้แก่ลูกหลานของอับราม ดูข้อ7
อิสราเอลจะไม่ได้สิทธิอำนาจสูงไปกว่านั้น อิสราเอลยิ่งใหญ่กว่าฟิลิสตินที่เป็นทหาร, มีอำนาจเหนือจักรวรรดิ์อังกฤษ,เหนือกว่ายูเอ็น พระเจ้าจะพรากแผ่นดินออกไป การครอบครองไม่ได้เป็นปัจจัยตัดสินสิทธิการเป็นเจ้าของ เมื่อคนคานาอัน ถูกคนอิสราเอลแย่งชิงการครอบครองแผ่นดิน
เนื่องจาก ยิวเป็นลูกหลานของอับราฮัม, ตั้งแต่นั้นมา แผ่นดินนั้น เป็นสิทธิของยิว หรือไม่ ?
ไม่เป็น
ไม่ง่ายขนาดนั้น
ลูกหลานของอับราฮัมมีสองกลุ่มใหญ่คืออิสอัคและอิสมาเอล จากอิสอัคมา ยาโคบ, ยาโคปได้เชื่อว่าอิสราเอล จากยาโคปให้กำเนิดคนอีก 12 เผ่า
(หรือ13เผ่าอยู่ที่ว่าจะนับ ยาโคป รวมด้วยหรือไม่) คนยิวเป็นลูกหลานเพียงหนึ่งเผ่า จากหลายเผ่านั้น นั่นคือเผ่ายูดา
นอกจากนั้น ลูกหลานของอิสมาเอล คืออาหรับ และอาหรับมีสิทธิในปาเลสไตน์ หรือไม่ สัญญาของพระเจ้ากระทำกับอับราฮัม อิสอัค และยาโคป แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าตั้งใจมอบแผ่นดินให้กับสายตระกูลของอิสอัค
ทั้งยิวและมุสลิม ต่างนำศาสนามาอ้างสิทธิ์บนแผ่นดิน
ปวศ.ไม่ราบรื่นและไม่เอื้อต่ออิสราเอล อิสราเอลจำต้องต่อสู้เพื่อครอบครองและยึดครองแผ่นดิน สงครามกลางเมืองอิสราเอลแบ่งประเทศออกเป็นสองชาติ เรียกว่ายูเดีย และสะมาเรีย เป็นช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากและยุ่งเหยิงของปวศ.ปาเลสไตน์ ่
เมนาเฮม เบกินไม่เรียกปาเลสไตน์ว่าปาเลสไตน์ เบกิน เน้นย้ำให้คนยิวนำศาสนามาอ้างสิทธิ์บนแผ่นดิน ศาสนาเป็นปัจจัยหนึ่ง ในความคิดของชาวปาเลสไตน์ ตามข้อมูลจากเพสบุ๊ค CIA(CIA’s World Factbook) ชาวปาเลสไตน์ จำนวน 75% เป็นมุสลิม ตั้งแต่ศต.ที่เจ็ด มุสลิมปกครองปาเลสไตน์ เป็นเวลา 1300 ปี ปกครองคนที่เรียกว่า “ฟิลาสติน Filastin,” เป็นที่มาของชื่อปาเลสไตน์“Palestine.” (มีความเกี่ยวเนื่องกับฟิลิสตินโบราณอย่างชัดเจน)
“ปาเลสไตน์ เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิกับคนมุสลิม เห็นจากที่ผู้พยากรณ์มุฮัมมัด กำหนดให้เยรูซาเล็มเป็นทิศทางแรกที่คนมุสลิมหันหน้า เวลานมัสการ (เป็นทิศทางที่มุสลิมหันหน้าเมื่อนมัสการ) และเป็นสถานที่เชื่อว่า มุฮัมมัด ขึ้นสวรรค์ ในเวลากลางคืน จากพื้นที่ ที่ตั้งวิหารโซโลมอน ที่ภายหลังมีการสร้างโดมแห่งศิลา ขึ้นมา เยรูซาเล็มกลายเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดลำดับที่สามของอิสลาม” (อ้างอิง Encarta Online Encyclopedia, 2002, “Palestine,” p. 4)
สำหรับการอ้างสิทธิ์ศาสนาของอิสลาม จากการศึกษาของโปรเฟสเซอร์ โมเช ชารอน จาก ม.ฮีบรู ในเยรูซาเล็ม ได้บรรยายถึง ”บันทึกเรื่องราวของอิสลาม” ดร.ชารอน กล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง“ อิสลามและดินแดน” ได้สอดคล้องกับสำนักที่เคร่งครัดที่สุดของกม.อิสลาม ว่า:
“อารยธรรมนี้ สร้างกฎพื้นฐานที่สำคัญมาก เกี่ยวกับดินแดน ว่าดินแดนใดก็ตามถ้าตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมแล้ว ไม่สามารถสละอิสลามได้ ไม่ว่าจะเวลานี้หรือเวลาใด ศัตรูที่[มิใช่มุสลิม]ยึดดินแดนได้ ถ้ามาอยู่ใต้การปกครองของอิสลาม จะถือว่าเป็นของอิสลามตลอดไป นี่คือที่มาของสาเหตุที่เราได้ยินเกี่ยวกับความขัดแย้ง ระหว่างอาหรับอิสราเอลบ่อยครั้ง คุณจะได้ยินคำว่า ดินแดน ดินแดน ดินแดน แม้ยังมีลักษณะของความขัดแย้งอื่น ที่นำไปสู่ความขัดแย้งแต่เรื่องดินแดนมีความสำคัญสูงสุด” อ้างอิง(www.mjaa.org)

ฉะนั้น มุสลิมปาเลสไตน์ จำนวนมาก เชื่อว่าตนเองมีสิทธินำศาสนามาอ้างสิทธิ์ เป็นเจ้าของแผ่นดินปาเลสไตน์ นั่นเป็นที่มาของการต่อสู้ และจะยังต่อสู้อย่างรุนแรง เพื่อดินแดนนี้
จะเห็นว่าความอยากได้ ที่มีทั้งสองฝ่าย จากประเด็นอันซับซ้อนนี้ เห็นว่าไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง ตั้งแต่ปี 1947 เมื่อทั้งอาหรับและยิว ต่างเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์—มีสิทธิ์เป็นเจ้าของแผ่นดินปาเลสไตน์อย่างเต็มที่.
