เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 64 เวลา 10.05 น. เครื่องบินสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG675 ได้ขนส่งวัคซีนโควิด19 ล็อตแรกของบริษัท ซิโนแวค จำนวน 2 แสนโดส เดินทางจากประเทศจีน มาถึงยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่เรียบร้อย โดยเครื่องบินได้เข้าจอดที่หลุมจอดที่ 518 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมคณะ เป็นประธานในการรับมอบ

ถึงไทยแล้ว! วัคซีนโควิด2แสนโดสแรกแลนด์ดิ้งสุวรรณภูมิ

การขนส่งวัคซีนโควิด19ครั้งนี้ บริษัทการบินไทยได้ทำการขนส่งด้วย เครื่องบินแบบแอร์บัส A350-900 ซึ่งมีลำตัวกว้าง ขนส่งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ชนิดปรับควบคุมอุณหภูมิได้ระหว่าง -20C ถึง +20C และอุปกรณ์บริการภาคพื้นเพื่อสนับสนุนเที่ยวบินขนส่งวัคซีน รวมถึงรถ Truck Cold Room ที่สามารถควบคุมความเย็น ซึ่งจะช่วยปกป้องวัคซีนไม่ให้สัมผัสกับสภาวะอุณหภูมิสูงในระหว่างการส่งต่อ

โดยมีทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการขนส่งและดูแลผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าประเภทที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า เช่น วัคซีน เวชภัณฑ์ เป็นอย่างดี ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน GDP (Good Distribution Practice) ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกดูแลการขนส่งครั้งนี้

การบินไทย ยืนยันว่ามีความพร้อมในการขนส่งวัคซีนล็อตต่อไป เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19

2 แสนโดสกระจายฉีดให้บุคลากรการแพทย์และกลุ่มเสี่ยง 13 จังหวัด

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) ระบุว่า วัคซีนโควิด19 จำนวน 200,000 โดสแรกจะมีการกระจายไป 13 จังหวัดเพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายคือ จังหวัดที่ 1-9 ประกอบด้วยจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่

1. สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 8,000 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 6,000 โดส

ผู้ที่มีโรคประจำตัว 46,000 โดส

ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 10,000 โดส

2. กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก) 66,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 12,400 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,600 โดส

ผู้ที่มีโรคประจำตัว 47,000 โดส

ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 5,000 โดส

3. ปทุมธานี 8,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 3,000 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส

ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส

ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส

4. นนทบุรี 6,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส

ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส

ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส

5. สมุทรปราการ 6,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส

ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส

ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส

6.ตาก (อ.แม่สอด) 5,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 3,000 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส

7. นครปฐม 3,500 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,500 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส

8. สมุทรสงคราม 2,000 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 1,500 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส

9. ราชบุรี 2,500 โดส

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส

เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส

ส่วนจังหวัดที่ 10 – 13 เป็นพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยมอบให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ ได้แก่

10. ชลบุรี 4,700 โดส

11. ภูเก็ต 4,000 โดส

12. อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 2,500 โดส

13. เชียงใหม่ 3,500 โดส

ศบค.ระบุด้วยว่า การฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมาย เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 2-3 สัปดาห์ สำหรับ วัคซีนที่เหลืออีก 16,300 โดส จะสำรองเอาไว้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและฉีดให้บุคลากรในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิด 19

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *