รู้หรือไม่ ว่าแม้ว่าจะไม่ได้ดื่มหนัก แต่แค่ดื่มสุราในระดับปานกลางอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้สมองเสี่ยงต่อความผิดปกติได้แล้ว

อาการระยะสั้นที่พบได้ทั่วไปเมื่อแอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กับสมอง คือ ‘เริ่มมองเห็นแบบเบลอๆ เดินไม่ค่อยจะตรง การตอบสนองช้าลง พูดจาแบบงุนงงและตื่นมาแล้วจำสิ่งที่ทำตอนเมาไม่ค่อยได้’

ผลกระทบของแอลกอฮอล์จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ สภาวะร่างกาย และปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับ

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) และ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London) ได้เผยแพร่ผลการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับปานกลางและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมองลงในวารสารการแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (The British Medical Journal)

งานวิจัยดังกล่าวเป็นงานเชิงสังเกตการณ์ระยะยาว ที่เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ.1985-2015 ในกลุ่มตัวอย่างทั้งเพศหญิงและชาย รวมทั้งสิ้น 550 คน และ ไม่ใช่ผู้มีภาวะเสพติดแอลกอฮอล์

ผลปรากฏว่าปริมาณการดื่มมีความสัมพันธ์กับการฝ่อของสมองส่วนที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งกลุ่มที่ดื่มหนักมีความเสี่ยงต่อการฝ่อของสมองมากที่สุด โดยสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเรียนรู้ การจัดเก็บความทรงจำระยะยาว และการรับรู้ทิศทาง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าการดื่มมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับความคล่องแคล่วในการนึกคำศัพท์ที่ลดลง

อ่านต่อได้ที่

เรียบเรียงโดย ศุภกิจ พัฒนพิฑูรย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *