COVID19:”แพทย์ศิริราช”เตือน หากคนไทยยังปฏิบัติตัวแบบเดิม ไม่หยุดอยู่กับบ้าน Lock Down ภายใน 15 เมษายน นี้ จะมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 กว่า 3 แสนคน เสียชีวิตกว่า 7 พันคน.

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แถลงถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 จากการวิเคราะห์จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อยังนิ่ง อยู่ที่ 40 กว่าราย แต่จุดที่เริ่มเปลี่ยนแปลง มีผู้ติดเชื้อมากขึ้น เริ่มจากกลุ่มสนามมวย และผับทองหล่อ

ซึ้งจากสถานการณ์การติดเชื้อโรคโควิด-19 ครั้งนี้โลกเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่คุมไม่อยู่
กับ คุมอยู่ แล้วปัจจัยใดที่บอกว่าไทยจะเป็นกลุ่มอะไร

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่า มีข้อมูลสำคัญ ที่ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ “คุมไม่อยู่แล้ว”

ซึ่งดูจากกราฟอัตราการติดเชื้อ จากจำนวนวันที่ ตัวเลขผู้ติดเชื้อ เป็น 0 แล้ว เพิ่มเป็น 100-200 คน เป็นช่วงที่จะดูได้ว่า อัตราการติดเชื้อไปในทิศทางไหน

อย่าง สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง อัตราการเพิ่มน้อย พบว่า จากวันที่เราเจอเชื้อบวก 100-200 คนประมาณ 5 วัน

กลุ่มที่คุมไม่อยู่ อัตราการติดเชื้อที่เพิ่ม 100-200 คนอยู่ที่ 3 วันโดยเฉลี่ย อย่างที่เกิดขึ้นในประเทศแถบยุโรป ทั้งอิตาลี และเยอรมนี

เมื่อดูจากตัวเลขของไทย จากวันที่เราเริ่มพบผู้ติดเชื้อมาถึง ที่เพิ่มจำนวน 114-200 คน พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้น 3.5 วัน ในขณะที่ผลเชื้อแลปที่ 2 จะมาช้า 1 วัน

“นี่คือตัวเลขที่บอกว่า เราในกลุ่ม3 วันแล้ว ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย อัตราการแพร่เชื้อของไทย จะเหมือนประเทศกลุ่มที่คุมไม่อยู่ ซึ่งโดยเฉลี่ย จะมี เพิ่มขึ้น 33 % โดยเห็นได้ชัดว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ ภายใน 3 วัน จาก 30 คน เป็น 89 คน และ 188 คน เป็นอัตราที่เกิดขึ้นจริง”

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ย้ำว่า โอกาส ที่เราจะคุมแบบญี่ปุ่น ยากนั้นยากแล้ว เราเริ่มช้า สิ่งที่ไทยเราคาดหวัง ถ้าทำได้ต้องทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ ลดลง จาก 33 % ไม่ถึง 20 %

เมื่อนับจากวันที่ไทยมีผู้ติดเชื้อเกิน 100 คน คือวันที่ 15 มีนาคม 2563 หากเราไม่ทำอะไรเลย ภายใน 30 วัน คือ วันที่ 15 เมษายน ตัวเลขผู้ติดเชื้อ โควิด-19
351,948 ราย นอนโรงพยาบาล 52,792 ราย นอน ICU 17,597 ราย และ เสียชีวิต 7,039 ราย

หากทุกคนอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ หรือ Lock Down คาดว่า 15 เมษายน คนไทยจะติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 24,269 ราย นอนโรงพยาบาล 3,640 ราย นอน ICU 1,213 ราย และเสียชีวิต 485 ราย

“ไวรัสโควิด เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำลายเราตั้งแต่ต้น ทำลายปอด ขณะนี้มีคนจำนวนหนึ่งเดินมาเหมือนไม่มีอาการ ไม่มีไข้ มาตรวจพบเชื้อ โควิด-19 เริ่มทำลายปอด มีคนไข้ไม่รู้ตัวเอง เพราะคิดว่าสบายดี แต่ไวรัสตัวนี้ ทำลายเนื้อปอด มีอาการเหนื่อย ปอดถูกทำลายไปเยอะแล้ว เมื่อเป็นมากขึ้น คนไข้อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าหากปล่อยให้มีคนไข้จำนวนมาก จะเกิดเหตุการณ์เหมือน อิตาลี ที่ต้องเลือกว่ารักษาใคร ซึ่งหมอไม่อยากให้เกิดสถาการณ์นี้”

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ย้ำว่า สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาหากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก คือ ศักยภาพระบบสาธารณสุขของไทยในการรองรับผู้ป่วยโควิด-19

ที่พบว่า จำนวนห้องผู้ป่วยเดี่ยว ใน กทท.มี 237 ห้อง ต่างจังหวัด 2,444 ห้อง ห้องผู้ป่วยรวมหลายเตียง ใน กทม.มี 134 ห้อง ต่างจังหวัด มี 3,061 ห้อง ส่วนห้องความดับลบ ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยอาการหนัก ใน กทม.มี 136 ห้อง ต่างจังหวัดมี 1,042 ห้อง ซึ่งไม่เพียงพอแน่นอนหากต้องรับผู้ป่วยไอซียู 17,597 คน ภายใน 1 เดือน หากไม่ควบคุม

ขณะที่จำนวนบุคลากรสาธารณสุข ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน มีแพทย์ 37,160 คน ขณะที่พยาบาล มี. 151,571 คน

ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์กังวลมากหากเสียชีวิตเพราะบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ

ติดตามสัมภาษณ์ฉบับเต็ม เพื่อเข้าใจโรคโควิด-19 และรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น #หยุดอยู่บ้าน #หยุดเชื้อเพื่อชาติ #หยุดโควิด19

https://www.facebook.com/2287975534786167/posts/2590872701163114/?vh=e&d=n

TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #COVID19

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *