กองทัพอากาศสหรัฐ ได้เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทยระหว่างพ.ศ. 2504 ถึง 2518 ในช่วงสงครามเวียดนาม เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการโจมตีประเทศเวียดนามเหนือ การทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ 80 ต่อเวียดนามเหนือมาจากฐานทัพอากาศในประเทศไทย จำนวนกำลังพลสหรัฐในประเทศไทยเพิ่มถึงจุดสูงสุดในปี พ.ศ. 2512 โดยมากกว่าที่ประจำการอยู่ในประเทศเวียดนามใต้เสียอีก

เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอมริกา ที่ทิ้งระเบิดปูพรมลงที่เวียดนามและลาว ส่วนใหญ่ไปจากฐานทัพอเมริกันในเมืองไทย ที่ใกล้ชายแดนลาวมากที่สุดคือ นครพนม อุดรธานีและอุบลราชธานี ห่างออกไปก็ตาคลี อู่ตะเภา รวมไปถึงสนามบินเล็กๆ ที่ใช้สำรองอีกหลายแห่ง เช่นที่สกลนคร ห่างจากชายแดนลาวเพียง 70 ก.ม.
ข่าวบีบีซีประมาณว่ามีคนเสียชีวิตจากระเบิดนั้นประมาณ 29,000 คน บาดเจ็บ 21,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน ระเบิดที่ตกค้างอยู่ใต้ดินบนดินกระจายไปทั่ว ยากที่จะรู้ว่าอยู่ที่ไหนเท่าไร เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คนที่ต้องออกไปทำมาหากินในป่าในทุ่ง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้เรื่อง เข้าใจว่าเป็นเครื่องเล่น
สาเหตุสำคัญของการทิ้งระเบิดปูพรมในประเทศลาวด้วยระเบิดสารพัดรูปแบบ โดยเฉพาะตามตะเข็บชายแดน เพราะอเมริกันเชื่อว่า ถ้าหากไม่ปูพรมวางกับดักระเบิดไว้ กองทัพเวียดนามจะต้องรุกลงใต้ตามชายแดนลาว แล้วไปเข้าเขมรเพื่อจะได้ไปตีไซง่อนได้โดยไม่ยากนัก
ช่วงสงครามเวียดนามเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 (ค.ศ.1955) กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975)

ส่วนการตั้งฐานทัพในไทยนั้น เริ่มประมาณปี พ.ศ.2507 ในจังหวัดต่างๆ ของไทยที่ความสำคัญทางภูมิศาสตร์การรบ เช่น โคราช, อุดรธานี, นครพนม, อุบลราชธานี, อ.ตาคลี นครสวรรค์, อู่ตะเภา ระยอง, อ.สัตหีบ ชลบุรี ฯลฯ โดยหนังสือพิมพ์ Star & Stripe ของทหารสหรัฐได้รายงานในปี 2510 ว่ามีทหารสหรัฐทั้งหมดที่ประจำการอยู่ในประเทศไทยประมาณ 45,000 นาย โดยมีทั้งทหารบกและทหารอากาศ

ส่วนคำว่า จี.ไอ. G.I. มาจาก Government Issue ซึ่งหมายเรียกเกณฑ์ทหาร (อเมริกัน) และได้ถูกนำมาเรียกทหารสหรัฐฯ ที่ถูกส่งไปรบในดินแดนต่างๆ และคำว่า G.I. นั้นได้โด่งดังมาจากเพลงของนักร้องชื่อดังชาวอเมริกัน เอลวิส เพรสลี่ย์ ชื่อเพลง จีไอ.บลูส์- “G.I. Blues” ปี ค.ศ.1960 เมื่อ 52 ปี ราวปี พ.ศ.2503
ชาวอเมริกันถูกเกณฑ์ให้เข้าไปรบในสงครามเวียดนาม โดยเริ่มเข้าประจำการในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 และเริ่มปฏิบัติการอย่างหนักในช่วง พ.ศ.2510 ทหารจีไอส่วนใหญ่ได้แก่หนุ่มฉกรรจ์ที่ถูกหมายเลือกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งคล้ายกันกับทหารเกณฑ์ของไทยตรงที่ คนเหล่านี้เป็นหนุ่มบ้านนอก การศึกษาค่อนข้างต่ำ ดังจะเห็นได้จาก การที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากไทย เนื่องจากพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม กลุ่มทหารเหล่านี้ต่างถูกทอดทิ้ง บางรายกลายเป็นปัญหาของสังคมอเมริกัน และกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือเข้ากันกับชาวพื้นเมืองมากที่สุด

ภายใต้สนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีโต้ (SEATO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๔๙๗ เพื่อให้มีการปฏิบัติการคุ้มครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ประกอบกับข้อตกลงทางทหารที่รัฐบาลไทยมีต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ในการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือทางทหารที่มีต่อกันนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา
โดยเฉพาะข้อตกลงใน ๘ เรื่องที่ทำขึ้นระหว่างปี ๒๔๙๓ – ๒๕๑๐ มีผลทำให้รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันกับรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องยินยอมให้สหรัฐฯ สามารถตั้งฐานทัพของตนในประเทศไทยได้ และมีอภิสิทธิ์ในประเทศไทย พร้อมทั้งสามารถส่งทหารไทยเข้าร่วมรบในเวียดนาม ลาว และให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กัมพูชา ได้
ปี ๒๕๐๔ นับเป็นปีแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งกำลังทหารนาวิกโยธินจำนวน ๑๐,๐๐๐ คน เข้ามาประจำการในประเทศไทย โดยประจำอยู่ในฐานทัพของตนในจังหวัดอุดรธานี โดยในปีถัดมา มีการส่งกำลังทหารมาเพิ่มอีก ๕,๐๐๐ คน จากนั้นกำลังทหารของสหรัฐฯ ก็หมุนเวียนเข้ามาประจำในประเทศไทย โดยตลอดจนถึงปี ๒๕๑๗ มีทหารอเมริกันในประเทศไทยรวม ๔๙,๐๐๐ คน ในขณะที่ทั้งภูมิภาคนี้มีทหารอเมริกันรวม ๒๓๐,๐๐๐ คน
นอกจากกำลังทหารภาคพื้นแล้ว สหรัฐเอมริกา ยังได้ส่งกำลังทางอากาศเข้ามาปฏิบัติการในภูมิภาคนี้ (หน่วยบินแรกที่เข้ามาปฏิบัติการที่เวียดนามใต้ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๐๓ และหน่วยสุดท้ายออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๖ ) โดยฐานทัพของสหรัฐฯที่สำคัญในประเทศไทย {ประกอบด้วย}.
- [ฐานบินโคราช] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๑ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และโจมตี กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๓๘๘” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินโจมตี และเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ต่อต้านอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน (บ้านของไวล์วีเซล) แบบต่างๆ อาทิ เครื่องบินขับไล่แบบ F-4 C/D/E, A-7 D, EF/F-105, EB-66 นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิก และเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการสนับสนุนกองทัพบกสหรัฐฯ ด้วย
- [ฐานบินอุดร] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๒๓ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และลาดตระเวน กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ลาดตระเวนทางยุทธวิธีที่ ๔๓๒” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินลาดตระเวนแบบต่างๆ อาทิ F-4 C/D/E, RF-4 C, RF-101, F-104 โดยฐานบินแห่งนี้นอกจากจะเป็นที่ตั้งของกองทัพอากาศสหรัฐฯแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของหน่วยบินต่างและโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศลาว รวมไปถึงหน่วยปฏิบัติการบินของ CIA ภายใต้ชื่อ แอร์อเมริกา
- [ฐานบินนครพนม] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฝูงบิน ๒๓๘ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินปฏิบัติการพิเศษ กำหนดชื่อเป็น “กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ ๕๖” ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตี เครื่องบินลาดตระเวน และเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆ อาทิ A-1, OV-10A, O-2, CH-53, H-34
- [ฐานบินอุบล] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๒๑ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ อีกแห่งหนึ่ง กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๘” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ แบบ F-4 C/D และเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ รวมไปถึงฝูงบินกันชิพ AC-130 ด้วย
- [ฐานบินตาคลี] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองบิน ๔ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และทิ้งระเบิด กำหนดชื่อเป็น “กองบินขับไล่ยุทธวิธีที่ ๓๕๕” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดแบบต่างๆ อาทิ F-4 C/D, EF/F-105, F-111, EB/RB-66, RB-57
- [ฐานบินอู่ตะเภา] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองการบินทหารเรือ ของราชนาวีไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินทิ้งระเบิด กำหนดชื่อเป็น “กองบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่ ๓๐๗” ประจำการด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-52 และเครื่องบินจารกรรมแบบ U-2 ,SR-71
- [ฐานบินน้ำพอง] : ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งฝูงบิน ๒๓๖ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานทัพอากาศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฝูงบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีแบบต่างๆของหน่วยนาวิกโยินสหรัฐฯ กำหนดชื่อเป็น “โรสกาเด็น” ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินโจมตีแบบต่างๆ อาทิ F-4 B/J, A-4, A-6
นอกจากฐานทัพอากาศต่างๆ ที่กองทัพสหรัฐฯ ได้จัดกำลังทางอากาศ มาประจำอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีการส่งกำลังทหารเข้ามาประจำ ณ ที่ตั้งต่างๆอีกมากมาย อาทิ ฐานทัพอากาศดอนเมือง (ปัจจุบันคือกองบิน ๖ ของกองทัพอากาศไทย) ฐานบินส่งกำลังบำรุงสัตหีบ (เดิมคือกองบิน ๗ (๗๑) ของกองทัพอากาศไทยต่อมาได้โอนคืนให้กับราชนาวี และยกเลิกการเป็นสนามบิน), ฐานบินกองกำลังพิเศษเขื่อนน้ำพุง จังหวัดขอนแก่น และฐานปฏิบัติการพิเศษของ CIA ที่จังหวัดกาญจนบุรี สกลนคร และพิษณุโลก

และนอกจากฐานทัพอากาศที่สำคัญในประเทศไทย รวมทั้งการวางกำลังทางอากาศบนเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเลอ่าวตังเกี๋ยของเวียดนามแล้ว สหรัฐอเมริกายังได้วางกำลังทางอากาศไว้ในประเทศเวียดนามใต้ เพื่อสนับสนุนการรบที่สำคัญอีกด้วย อาทิ ฐานบินดานัง ฐานบินตันซอนนุท ฐานบินแบร์แคท ฐานบินเบียนหัว ฐานบินซูไลด์ เป็นต้น ..
Cr เสรี พงศ์พิศ สยามรัฐ และ เพจ สงคราม ประวัติศาสตร์