เมื่อมีบุคคลที่เจ็บป่วย หรือไม่สามารถไม่สามารถรับประทานอาหารเองทางปากได้ การให้อาหารทางสายให้อาหาร เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้รับอาหารและน้ำรวมถึงยาอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ ทั้งนี้ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารของกระเพาะอาหารผู้ป่วยจะต้องยังคงทำงานปกติเหมือนในการกิน/การเคี้ยวอาหาร

การให้อาหารทางสายให้อาหาร เป็นการใส่สายยาง/ท่อยางผ่านทางรูจมูกจนถึงกระเพาะอาหารผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหาร เป็นอาหารปั่นผสม ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ที่รวมไปถึงปริมาณของอาหารที่พอเหมาะในแต่ละมื้ออาหาร โดยผู้ป่วยไม่ต้องเคี้ยวหรือกลืนอาหารนั้นๆ
ผู้ป่วยที่ควรได้รับอาหารทางสายให้อาหารได้แก่

1.บุคคล/ผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปากช่องคอจนเกิดปัญหาการกลืนอาหาร การดื่มน้ำ จนไม่สามารถรับประทานอาหารฯได้เองทางปาก เช่น เป็นมะเร็งในช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร อัมพฤกษ์ อัมพาต

2.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางทันตกรรมจนก่อให้เกิดปัญหาในการเคี้ยวอาหาร ส่งผลให้ได้รับอาหารน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

อาหารที่เหมาะสมจะให้ทางสายให้อาหารควรเป็นอาหารปั่นเรียกว่า อาหารปั่นผสม ที่เป็นเหมือนอาหารเหลวสามารถไหลผ่านสาย/ท่อให้อาหารที่มีขนาดเล็กได้สะดวก ส่วนใหญ่อาหารปั่นผสมมักเป็นอาหารที่ทำให้สุกโดยผ่านกระบวนการต้ม ตุ๋น แล้วนำมาปั่นละเอียดให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
การเตรียมอาหารปั่นผสมที่จะให้ทางสายให้อาหาร สามารถเตรียมได้เองอย่างง่ายๆ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงคุณค่าของอาหารทางโภชนาการและความสะอาด ควรเป็นอาหารที่ให้พลังงาน 1 กิโลแคลอรี ต่อปริมาณอาหาร 1 มิลลิลิตรโดยมีสัดส่วน

– อาหารโปรตีนเช่น เนื้อสัตว์ หมู ไก่ ปลา ไข่ 15 – 20%
– ไขมันที่เป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด 30 – 45% และ
– คาร์ไฮเดรตเช่น ข้าว น้ำตาล
– ผัก ผลไม้ควรเป็นผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก 50 – 60%

การให้อาหารทางสายให้อาหารอย่างปลอดภัย

1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการเตรียมอุปกรณ์

2. เตรียมอาหารและอุปกรณ์การให้อาหารมาที่เตียงผู้ป่วยหรือที่ผู้ป่วยนั่งอยู่เพื่อสะดวกในการให้อาหารแก่ผู้ป่วย

3. แจ้งผู้ป่วยให้ทราบว่าจะให้อาหารเพื่อให้ทราบและพร้อมในการให้อาหาร ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีเสมหะ ต้องดูดเสมหะออกก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักอาหาร

4. จัดท่าเพื่อให้อาหารไหลสู่กระเพาะอาหารได้ดีจะลดโอกาสเกิดการสำลัก โดยจัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30 – 60 องศา หรือจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง

5. ใส่สายให้อาหารผ่านรูจมูกด้านใดด้านหนึ่ง ผ่านลำคอ ผ่านหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร

6. เปิดจุกปลายสายให้อาหาร และเช็ดรอบรูเปิดด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำต้มสุก เพื่อทำความสะอาดอุปกรณ์และลดจำนวนเชื้อโรค

7. ต่อหัวกระบอกให้อาหาร เข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารโดยสำรวจให้กระชับและแน่น แล้วค่อยๆดูดน้ำย่อยอาหารหรืออาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารออก

8. หลังตรวจสอบตามข้อ 6 แล้ว เมื่อจะเริ่มให้อาหาร ให้พับสายให้อาหารที่ใกล้กับรูเปิด ของสายให้อาหาร สำรวจกระบอกให้อาหารที่ต่อกับสายให้อาหารให้เรียบร้อยแล้วให้กระชับแน่น นำอาหารเทลงไปในกระบอกให้อาหารประมาณ 50 มิลลิลิตร แล้วจึงค่อยๆปล่อยสายให้อาหารที่พับไว้ ยกกระบอกให้อาหารขึ้นสูงพอประมาณ เมื่ออาหารใกล้หมดเหลืออีกประมาณ 10 มิลลิลิตร จึงเทอาหารลงไปอีก ทำเช่นนี้จนอาหารที่เตรียมมาหมด และควรให้น้ำสะอาดตามลงไปอีกประมาณ 50 มิลลิลิตรหลังจากให้อาหารหมดแล้ว เพื่อช่วยล้างสายให้อาหาร เพื่อลดการบูดเน่าของเศษอาหารที่ค้างอยู่ตามสายให้อาหาร

9. กรณีที่ให้ยา ถ้าเป็นยาเม็ดควรบดยาให้ละเอียดก่อนการให้ยาผ่านลงไปในสายให้อาหาร ถ้าเป็นยาที่เป็นแคปซูลควรแกะแคปซูลออกก่อน แต่ถ้าเป็นยาน้ำสามารถนำมาให้ผ่านสายฯ ได้เลย

10. เช็ดปลายสายให้อาหารด้วยแอลกอฮอล์ 70% หรือด้วยน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นแล้ว ปิดฝาครอบรูเปิดสายฯเพื่อลดสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปในสายฯ ควรเก็บสายฯให้เรียบร้อย11. ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในเดิม/ท่าศีรษะสูง 30 – 60 องศาหรือท่านั่งอย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงหลังให้อาหารเสร็จเพื่อป้องกันอาการอึดอัดแน่นท้องและอาหารไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหาร

11. ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในเดิม/ท่าศีรษะสูง 30 – 60 องศาหรือท่านั่งอย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หลังให้อาหารเสร็จเพื่อป้องกันอาการอึดอัดแน่นท้องและอาหารไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหาร

12. เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ให้การให้อาหารไปทำความสะอาดเพื่อสะดวกในการใช้ครั้งต่อไป

การให้อาหารทางสายให้อาหาร ต้องตรวจสอบสายให้อาหารให้อยู่ในตำแหน่งในกระเพาะอาหารและตรวจสอบปริมาณอาหารที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารก่อนการให้อาหารทางสายฯทุกครั้ง รวมทั้งการดูแลสายฯให้สะอาด ระมัดระวังภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสายให้อาหาร สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและได้รับอาหารทางสายให้อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *